วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

ครูบาผาผ่า



ครูบาผาผ่าคือใคร....

ครูบาผาผ่า เนื้อผง รุ่นแรก

                 จากเมืองยวมสู่ลุ่มน้ำสาละวิน เขตแดนพม่า ในบรรดาพระอาจารย์ผู้เรื่องเวทย์ เปี่ยมไปด้วยเมตตาบารมี มีศีลาจารวัตรยึดมั่น ในสัมมาปฏิบัติ ถือมังสาวิรัติเคร่งครัดในพระกัมมัฏฐาน มีสมาธิแก่กล้า มีเจโตปริญาณสามารถหยั่งรู้จิตใจของผู้อื่นได้ และเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ ในถิ่นแคว้นล้านนาไทย นอกจากท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยที่เชียงใหม่แล้ว ก็เห็นมีท่านครูบาผาผ่า หรือ พระครูปัญญาวรวัตร สำนักวัดผาผ่า อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮองสอน ที่ครูบาเจ้าศรีวิไชย เคยยกย่องประกาศเกียรติคุณ ในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิไชยมีชีวตอยู่ ชาวเรา ชาวแม่สะเรียงจำนวนมากได้หลั่งไหลกันไปทำบุญขอศีลขอพรกับท่านครูบาเจ้าศรีวิไชย ที่เชียงใหม่ และช่วยกันทำงาน เช่น สร้างทางขึ้นดอยสุเทพเป็นต้น และ การคมนาคมในสมัยนั้นแสนทุระกันดาร ไม่มีถนนให้รถราวิ่งสะดวกอย่างปัจจุบัน จากอำเภอแม่สะเรียงไปเชียงใหม่ ต้องเดินเท้า ใช้เวลาเดิน ๕-๗ วัน เดินขึ้นเขาลงห้วย ครูบาเจ้าศรีวิไชยได้เห็นความลำบากของพี่น้องชาวพุทธ อำเภอแม่สะเรียง ที่ต้องเดินทางมาไกลด้วยความลำบากเช่นนั้น จึงได้บอกว่า ต่อไปไม่จำเป็นจะต้องมาทำบุญขอศีลขอพรกับอาตมาถึงที่นี่ก็ได้ มีอะไรก็ให้ไปหา "ตุ๊น้อง"ที่วัดดอยล้อม ที่เมืองยวมโน้นก็ได้ เพราะท่านก็มีบุญบารมีแก่กล้าทุกอย่างเหมือนกัน เพียงแม่ตุ๊น้องไม่ชอบแสดงตนเท่านั้น คำว่า"ตุ๊น้อง"หมายถึงท่านครูบาผาผ่าฯ นั่นเอง นับแต่นั้นมาบรรดาชาวพุทธ ทั้งชาวเรา ชาวเขาอำเภอแม่สะเรียง ต่างพากันไปทำบุญให้ทานขอศีลขอพรกับท่านครูบาผาผ่ามากขึ้นโดยมิได้ขาด มีบางคนไปขอยารักษาโรค น้ำมนต์ วัตถุอันเป็นมงคลเพื่อความสุขความสวัสดีแก่ตนและครอบครัว ชาติกำเนิด ครูบาผาผ่าณ นามเดิมชื่อ สวน นามสกุล คำภีระ เกิดที่หมู่บ้านผาผ่า ตำบลแม่คะตวน     อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮองสอน ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๒ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีฉลู บิดาชื่อนายปั่น มารดาชื่อ นางธิ มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม ๔ คน อายุ ๑๗ ปี จึงได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรโดยมีครูบาเต๋ เป็นพระอุปัชฌมย์ เมื่อบรรพชาแล้วได้ศึกษาคำภีรืมูลกัจจายน์พระสูตรและพุทธมนต์คาถา และพรกัมมัฏฐาน จนมีความรู้ความสามารถและมีจิตเป็นสมาธิแก่กล้า ท่านได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ พัทธสีมาวัดผาผ่า ครูบาตุ้ย วัดห้วยสิงห์ เป็นพระอุปัชณาย์ พระอธิการอินต๊ะวัดบ้านใหม่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้นามฉายาว่า "ปัญญาวโร" แปลว่าผู้มีปัญญาอันประเสริฐ เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดผาผ่าสิบแทนท่านครูบาเต๋จ๊ะมาจนสิ้นอายุขัย

                ด้านการปกครองสงฆ์ ท่านครูบาฯก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลและเป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตตำบลและเป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตตำบลแม่คะตวนมาเป็นเวลาอันยาวนานและได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ "พระครูปัญญาวรวัตร" เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๑ และท่านได้ถึงแก่มรณะภาพเมื่อวันที่ ๖ กรกฏาคม ๒๕๐๔ รวมอายุได้ ๗๒ ปี ในขณะที่ท่านครูบาฯยังมีชีวิตอยู่ ไม่เคยมีการสร้างพระผง หรือเหรียญของท่านเลย นอกจากผ้ายันต์ที่มีคนขอท่านก็ทำให้เป็นรายบุคคลไป หลังจากท่านถึงแก่มรณภาพแล้วจึงมีคณะศิษย์ได้จัดสร้างรูปเหมือน พระผง และเหรียญของท่านออกอย่างเผยแพร่ เพื่อเป็นอนุสรณ์น้อมรำลึกถึงคุณงามความดี และกาศเกียรติคุณของท่านดังนี้

ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๐๗ คณะศิษย์และกรรมการวัดผาผ่าได้รวบรวมเอาอัฐิขี้เถ้าของท่านมาผสมกับว่าน เกษรดอกไม้นาๆ ชนิด ผง คำภีร์ใบลานสร้างเป็นพระผงรุ่นแรกมีจำนวน ๙,๐๐๐ องค์
ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๑๓ วัดกิตติวงศ์สรางพระผงครูบารุ่นสอง เพื่อแจกจ่ายในงานเทศกาลต่างๆ จำนวน ๒๕๑๓ องค์
ครั้งที่๓ พ.ศ.๒๕๑๗ สร้างรูปเหมือนปั้นด้วยปูน และ เหรียญโดยมีนายทุนจัดทำในนามของวัดกิตติวงศ์ นับเป็นเหรียญรุ่นแรกมัจำนวนดังนี้


  ๑.  รูปเหมือนครูบาทำด้วยปูน ขนาด ๕ นิ้ว                      จำนวน ๔๕๐ องศ์
 ๒.  เหรียญพิมพ์กลม เนื้อเงินบริสุทธิ์                                จำนวน ๘๘๕ เหรียญ
 ๓.  เหรียญพิมพ์กลม เนื้อทองคำบริสุทธิ์                          จำนวน ๑๙ เหรียญ
 ๔.  เหรียญพิมพ์รูปไข่ด้านหลังแผงยันต์ เนื้อทองแดง       จำนวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ
 ๕.  เหรียญรูปไข่ด้านหลังแผงยันต์ เนื้อนวโลหะ                จำนวน ๘๘๕ เหรียญ
 ๖.   เหรียญรูปไข่ด้านหลังรูปพระธาตุ เนื้อทองแดง            จำนวน ๕,๐๐๐ เหรียญ
 ๗.  เหรียญรูปไข่ด้านหลังรูปพระธาตุ เนื้อทองคำ                จำนวน ๒ เหรียญ
 ๘.  เหรียญรูปไข่ด้านหลังรูปพระธาตุ เนื้อชินลองพิมพ์       จำนวน ๕๔ เหรียญ
 ๙.  เหรียญรูปไข่ด้านหลังรูปพระธาตุ เนื้อเงิน                      จำนวน ๒๒๗ เหรียญ
 ๑๐.เหรียญรูปไข่ด้านหลังรูปพระธาตุ เนื้อนวโลหะ                จำนวน ๙ เหรียญ
 ๑๑.เหรียญรูปไข่ด้านหลังแผงยันต์ เนื้อทองแดง                   จำนวน ๒๕๑๗


             ครูบาผาผ่า    (พระครูปัญญาวรวัตร) ตนบุญแห่งอำเภอแม่สะเรียง ผู้มีสมาธิจิตแก่กล้าแต่เยาว์วัย สามารถหยั่งรู้จิตใจของคนอื่นและเหตุการณ์ล่วงหน้า เป็นผู้ถือมังสะวิรัติเคร่งครัดในกระกัมมัฏฐานเปี่ยวล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นพระภิกษุรูปเดียวที่ครูบราเจ้าศรีวิไชย ยกย่องประกาศเกียรติคุณว่า มีบุญญาธิการบารมีแก่กล้า แต่ไม่ชอบแสดงตน และยอมรับว่าเป็น"ตุ๊น้อง"วัตถุมงคลของครูบา เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ให้ผลทางเมตตามหานิยม แคล้วความจากอุบัติเหตุเภทภัยอันตรายต่างๆ นานา


    
           ขอเชิญทุกท่าน หากได้แวะเวียน มาถึงอำเภอสบเมย     ก็มากราบขอพรจากท่านครูบาผาผ่า   ณ  อนุสาวรีย์ครูบาผาผ่า  บ้านผาผ่า หมู่ที่  1 ตำบลแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
         
ขอขอบคุณ
        
http://www.amatasiam.com/library/?view=yes&CatID=13&SubCatID=367&id=588

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=150456


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก